กะเพรา

เชียงใหม่ - กอมก้อ, กอมก้อดง แม่ฮ่องสอน - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ กะเหรี่ยง - ห่อกวอซู, ห่อตูปลู เงี้ยว - อิ่มคิมหลำ ภาคกลาง - กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง (กลาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีตู่ข้า

Ocimum tenuiflorum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Lamiaceae

เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตกออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้โรคบิด และขับลม

2. เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย

3. ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

4. น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก

5. ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม

6. แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้งหยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร[6]

7. เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

แหล่งที่พบ

เกี๋ยงพาใย (สันพร้าหอม)

หญ้าเสือมอบ (ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี), เกี๋ยงพาใย (ภาคเหนือ), ซะเป มอกพา หญ้าลั่งพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พอกี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลานเฉ่า เพ่ยหลาน (จีนกลาง), ผักเพี้ยฟาน, ส่วนกรุงเทพฯ เรียก "สันพร้าหอม" เป็นต้น

Eupatorium fortunei Turcz.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ต้นสันพร้าหอม

จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

ใบสันพร้าหอม

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว หลังใบมีขนปกคลุม เส้นใบคล้ายรูปขนนก เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม ใบบริเวณโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและแห้งง่าย

ดอกสันพร้าหอม

ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น คล้ายซี่ร่ม ช่อดอกยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ก้านหนึ่งมีประมาณ 10 ช่อ เรียงติดกัน 2-3 แถว แถวด้านนอกมีขนาดสั้นกว่าแถวด้านใน ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ดอกยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก

ผลสันพร้าหอม

ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ผลเป็นสีดำ มีสัน 5 สัน ผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อสุกผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใบใช้กินกับลาบ น้ำพริก หรืออาหารอื่น ๆ

2. ใช้เป็นส่วนผสมของแป้งหอม ยาสระผมหอมบำรุงผม ธูปหรือเครื่องหอมอื่น ๆ

3. คนปกาเกอะยอรู้ดีว่าธรรมชาติของสันพร้าหอมจะยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อแห้ง จึงนิยมนำมาห่อด้วยใบตองที่ทาด้วยน้ำมันมะพร้าวไว้แล้วนำมาย่างไฟจะทำให้กลิ่นหอมมาก ซึ่งคนปกาเกอะยอจะนิยมนำมาทัดหูหรือนำมาห้อยกับสายสร้อยคล้องคอ นอกจากนี้ยังนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อดึงดูดผีบ้านผีเรือนให้คอยปกป้องรักษาบ้านที่อยู่อาศัยและผู้อาศัย หรือนำมาใช้ห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ

4. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป พ่อค้านิยมนำมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อขายเป็นการค้า

แหล่งที่พบ

จิงจูฉ่าย

เซเลอรี่, โกศจุฬาลัมพา

Apium graveolens L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Asteraceae

เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกาย

การนำไปใช้ประโยนชน์

จิงจูฉ่ายนั้นมีประโยชน์มากมายนอกจากช่วยปรับสมดุลและขับลมภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ที่น่าอัศจรรย์ก็คือสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้โดยการนำใบจิงจูฉ่ายมาประมาณ 1 กำมือ แล้วปั่นหรือตำคั้นน้ำออกมารับประทานเช้า-เย็น 1 – 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงก่อนรับประทานอาหารสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 – 3 เดือน ก็สามารถต้านทานต่อเซลล์มะเร็งได้ แต่ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานจิงจูฉ่ายเนื่องจากอาจทำให้แท้งลูกได้

เมื่อเปรียบเทียบผลมะนาวกับผักอย่างจิงจูฉ่ายปรากฏว่าพบปริมาณวิตามินซีในจิงจูฉ่ายมากกว่าในมะนาวถึง 58 เท่าเลยทีเดียว และให้สรรพคุณทางยาสูง อีกทั้งมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินบี 6 เป็นต้น รวมทั้งผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาไข้มาลาเรียซึ่งคล้ายๆ กับเซลล์ของมะเร็ง คือจะมีประมาณธาตุเหล็กสูงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 5 – 1,000 เท่า ซึ่งการทานใบสดจะได้ผลดีกว่าผ่านกระบวนความร้อน

อย่างไรก็ตาม จิงจูฉ่ายนั้นก็นับเป็นสุดยอดสมุนไพรที่บำรุงเลือดลมได้ดีมากๆ และผักชื่อแปลกชนิดนี้ก็สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริง

แหล่งที่พบ