ทุเรียน

เรียน (ใต้) คือแย (มลายูใต้)

Durio zibethinus Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BOMBACACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีพูพอน เนื้อไม้สีแดงเข้ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปหอก หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน มีร่างแหหนาแน่น ท้องใบมีขนรูปดาวสีทองหรือสีเงินปกคลุมหนาแน่น ดอก: ออกบนกิ่งเป็นกระจุกแบบช่อเชิงหลั่น มีจำนวน 3-30 ดอก ผล: แห้งแตก รูปทรงกลม รูปไข่หรือ รูปรี สีเขียวถึง สีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมด้วยหนามรูปสามเหลี่ยมจำนวนมาก เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดปกคลุมมิดชิด นุ่ม สีขาวหรือเหลือง มีรสหวาน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบรสขมเย็นเฝื่อน สรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้งและขับพยาธิ เปลือกลูกรสฝาดเฝื่อนสมานแผลแก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝีตานซาง คุมธาตุ แก้คางทูม ใช้ไล่ยุงและแมลง รากรสฝาดขม แก้ไข้และแก้ท้องร่วง

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

ทองหลางด่าง

ทองบ้าน ทองเผือก (เหนือ) ทองหลางลาย (กลาง)

Erythrina variegata L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

สูงประมาณ10 - 15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหนาทึบ กิ่งค่อนข้างเปราะ กิ่งมีหนามเล็กๆ ตามลำต้น ใบ: เป็นใบ ประกอบมีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่หรือแกมขนมเปียกปูน สีเขียว มีแถบสีเหลืองตามแนวเส้นใบ ดอก: ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสด แดงหรือสีขาว ดอกทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ ออกดอกเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ผล: เป็นฝัก ลักษณะเป็นข้อๆต่อกัน เมล็ดสีส้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารโรงอาหารและที่จอดรถ (อาคาร12) โซน C

ทองกวาว

กวาว ก๋าว (เหนือ) จอมทอง (ใต้) จาน(อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ (กลาง) ทองต้น (ราชบุรี)

Butea monosperma (Lam.) Taub.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 -15 เมตร เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่ทรงกระบอกหรือทรงกลม ถ้าอยู่ในที่ลมแรงกิ่งและต้นจะคดงอ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทา แตกและเป็นตะปุ่มตะป่ำ ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่กลับแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไข่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอก: ออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม ยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผล: ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ยางใช้รับประทานแก้ท้องร่วง เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับพยาธิใบไม้ตับ ใช้ตำพอกแก้ฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง ขับพยาธิ ดอกรับประทานถอนพิษได้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลดความกำหนัด ขับพยาธิ ใช้หยอดตาแก้ตาแดง ปวดเคืองตา ตาแฉะ ตามัว เมล็ดบดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาวใช้ทาแก้ผิวหนังเป็นผื่นแดง อักเสบ คันและแสบร้อน แก่นทาแก้ปวดฟัน รากใช้ประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ขับพยาธิ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C