แสงจันทร์

แสงจันทร์ (กรุงเทพฯ)

Pisonia grandis R. Br.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • NYCTAGINACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 5-10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวอมเทา ผิวลำต้นเรียบ ใบ: เป็นใบเดี่ยว แตกออกตามข้อของกิ่ง เนื้อใบมองเห็นเส้นใบได้ชัด บางนิ่ม สีเหลืองอมเขียวอ่อน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรดอก: ดอกช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบเชิงหลั่น ดอกย่อยอัดกันแน่น ออกที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบประดับรูปลิ่มแคบ สั้น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ ยาว 4-5.5 มิลลิเมตร มีขน กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมกว้าง ดอกเพศเมีย ถ่างกว่าดอกเพศผู้ ดอกย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ผล: รูปทรงกระบอง กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร มีลายแถบ 5 แถบ ผิวมีปุ่ม เมล็ดมีขนาดเล็กกว้างประมาณ 9-10 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบมีรสชาติเหมือนผักกาดหอม ใช้เป็นผักหรือรองห่อหมกได้ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ตำพอกแก้อักแสบ ฟกบวม

แหล่งที่พบ

อาคารสมเด็จพระนางเจ้า (อาคาร 11)

หมาก

หมากเมีย (กลาง) หมากสง (ใต้)

Areca catechu L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นตั้งตรงผิวเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนและต้นแก่สีน้ำตาลเทา ไม่มีน้ำยาง ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แตกออกเป็นกระจุก บริเวณยอด ใบย่อยเป็นเส้นตรง ยาวประมาณ 2 เมตร ดอก: ดอกช่อ ออกบริเวณโคนใบล่างสุด มีกาบหุ้มช่อดอกขนาดใหญ่ ดอกย่อยแยกเป็นดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ผล: ผลรูปกลมหรือรี ผลสุกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีแดง เมล็ดมีขนาดใหญ่ เมื่อผ่าตามขวางจะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในที่ที่มีแสงตลอดทั้งวัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้กินกับปูนแดงและพลู เป็นของกินเล่นที่สำคัญของชาวไทยและหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อเมล็ดใช้ฟอกหนัง เนื่องจากมีปริมาณแทนนินสูงและใช้เป็นส่วนผสมของการย้อมผ้าสีกากี แหและอวนที่ทำจากด้าย ใช้ทารักษาแผลน้ำกัดตามง่ามมือเท้า และใช้ถ่ายพยาธิ เนื้อไม้ใช้ทำตอหม้อในทะเล

แหล่งที่พบ

หลังอาคารเรียน 2 โซน A

หมากเขียว

หมากฝรั่ง (กรุงเทพฯ) ปาล์มหมาก (กรุงเทพฯ) หมากพร้าว (เชียงใหม่, นราธิวาส)

Ptychosperma macarthurii H. Wendl.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PALMAE

ต้น: ลำต้นก็เกิดจากหน่อ สูงประมาณ 10-20 เมตร ลักษณะผอมและเป็นข้อปล้องตรง เมื่อยังอ่อนเปลือกจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมเขียว ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ ใบย่อยยาว 10 -15 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร โคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ เนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ใบสีเขียวอ่อน ดอก: เป็นช่อคล้ายจั่นหมาก ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง อมเขียว หรือสีขาวนวล ผล: กลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง มีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านข้างอาคารตึกใหญ่ทางเข้าหอพัก โซน B