มะกอกป่า

มะกอกป่า

Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 20 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 10 - 15 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมกว้าง ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับส้มตำ ลาบ ยำ อาหารที่มีรสจัด ผลสด มีรสเปรี้ยวใช้ตำน้ำพริก ส้มตำ และปรุงอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เผ่ากะเหรี่ยงใช้ใบเคี้ยวกินแก้ท้องเสีย ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงตา ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำเลือดออกตามไรฟัน เนื้อในผล แก้ธาตุพิการ เปลือก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

แก้ธาตุพิการ เปลือก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน

ใบ

ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับส้มตำ ลาบ ยำ

แหล่งที่พบ

มะกัก

มะกัก

Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบ 2 ชั้น เรียงเวียน ใบประกอบย่อยมี 3 - 5 คู่ คู่ล่างมักลดรูปเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยมี 3 - 5 คู่ ใบปลายขนาดใหญ่กว่าใบด้านข้าง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2 - 8.5 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนกลม เบี้ยว แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยใบข้างสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ยาวเท่า ๆ หรือยาวกว่าใบประกอบ ดอกจำนวนมากสีขาว ใบประดับรูปแถบขนาดเล็ก ก้านดอกยาว 4 - 6 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. มีขนประปราย กลีบดอก 4 กลีบ เรียงจรดกัน รูปรี ยาวประมาณ 4 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านชูอับเรณูกว้าง จานฐานดอกจักเป็นพูตื้น ๆ 10 พู รังไข่มี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 5 อัน ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4 - 4.5 ซม. สุกสีเหลือง ก้านหนา

การนำไปใช้ประโยนชน์

มะกักจัดอยู่ในกลุ่มพืชหอมที่สามารถนำไปใช้ เป็นยาบำรุงหัวใจ

แหล่งที่พบ

มะเกลือ

มะเกลือ

Diospyros mollis Griff.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นมะเกลือ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่าและไทย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และต้นมะเกลือจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี นอกจากนี้ต้นมะเกลือยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ช่วยแก้พิษตานซาง

เปลือกต้น

ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร

ใบ

ใบมะเกลือนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับสุรา ใช้ดื่มแก้อาการตกเลือดภายหลังการคลอดบุตรของสตรี เมล็ด ช่วยขับพยาธิ

ราก

ช่วยแก้ลม อาการหน้ามืด

แหล่งที่พบ