ชงโค

เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)

Bauhinia purpurea L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ยืนต้น สูงถึง 10 เมตร ผลัดใบช่วงสั้นๆ ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปมนเกือบกลม แยกเป็น 2 พู ปลายมนกลม กว้าง 8-16 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง จำนวน 6-10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรี กว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 6-8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน รังไข่มีขน ผล: เป็นฝัก ยาว 20-25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมมี 10 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบต้มกินรักษาอาการไอ ดอกเป็นยาระบาย ดับพิษไข้ รากต้มกินเป็นยาระบาย ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารโรงอาหารและที่จอดรถ (อาคาร12) โซน C

ชมพู่แก้มแหม่ม

ชมพู่กะหลาป่า (กทม.) ชมพู่ขาว ชมพู่เขียว ชมพู่นาก (กทม.)

Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L. M.Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ผล: รูปทรงกลมแบนหรือรูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง มีสีขาวอ่อนถึงชมพูอ่อน เนื้อขาวบางและกรอบ รสหวานมีกลิ่นหอม เมล็ด เป็นสีน้ำตาล มีจำนวน 1-2 เมล็ด ถ้ามี 2 เมล็ด จะมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกบกัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อของชมพู่เป็นยาบำรุงกำลัง โดยนำเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A

ชมพูม่าเหมี่ยว

ชมพู่แดง ชมพู่สาแหรก (กลาง)

Syzygium malaccense (L.) Merr. & L.M. Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 8 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีหรือแกมขอบขนาน กว้าง 13-13.5 เซนติเมตร ยาว 31-36 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือทู่ โคนใบรูปลิ่ม เส้นใบเชื่อมกันบริเวณริมขอบใบ ผิวมัน ดอก: สีแดงสด ออกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบ ฐานรองดอกเจริญเป็นรูปถ้วย กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบด้านนอก มีขนาดเล็กกว่ากลีบด้านใน กลีบดอก 4 กลีบ รูปมนกลม กว้าง 8-9 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาว 15-17 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 21 มิลลิเมตร ผล: สีแดงสดหรือแกมม่วง รูปเกือบกลมแกมขอบขนาน ผิวมัน ขนาด 4-6 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้รับประทาน

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A