ผักเชียงดา

เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา

Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)

1. ต้นผักเชียงดา

จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา

2. ใบผักเชียงดา

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร

3. ดอกผักเชียงดา

ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

4. ผลผักเชียงดา

ออกผลเป็นฝัก

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

2. ฟื้นฟูและบำรุงเบต้าเซลล์ตับอ่อน

3. ชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง

4. กระตุ้นระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอ่อนเพลีย

5. บำรุงและซ่อมแซมหมวกไตและระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์

6. ปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ

7. ลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล

8. ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย

9. บรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ

10. บรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

11. ลดภาวะเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และ DNA ถูกทำลาย

แหล่งที่พบ

พลูคาว (ผักคาวตอง)

ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักคาวปลา, ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว

Houttuynia cordata Thunb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAURURACEAE

พลูคาวเป็นไม้ล้มลุก อายุ 2 – 4 ปี สูง 15-40 เซนติเมตร ทั้งต้นมีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นคาวปลา ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหัวใจ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1-3.5 เซนติเมตร ก้านใบส่วนโคนแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น หูใบอยู่ติดกับก้านใบ ดอกช่อออกที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาวคล้ายกลีบดอก 4 กลีบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็กสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลแห้งแตกได้

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. แพทย์ตามชนบทใช้ใบพลูคาวปรุงเป็นยาแก้กามโรค แก้เข้าข้อออกดอก (หมายถึง โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายและเข้าไปสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย เรียกว่า “ออกดอก” ระยะนี้เป็นระยะที่ติดต่อได้โดยง่าย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีผื่นขึ้น แต่มีอาการปวดเมื่อยตามข้อ จึงเรียกว่า “เข้าข้อ”) โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อ

2. แก้โรคผิวหนังทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองแห้ง ให้แผลแห้ง แก้แผลเปื่อย โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อเช่นกัน

3. แก้โรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด (หมายถึง โรคเรื้อน หรือโรคเรื้อรังที่มีแผลตามผิวหนัง เริ่มจากขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายหูดขึ้นทั่วตัว แล้วขยายขนาดขึ้นเป็นตุ่มนูนแดง หรือโตคล้ายดอกกะหล่ำปลี ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในบริเวณใกล้แผลจะอักเสบและบวมโต ในระยะแรกผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการไข้ หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา จะมีการทำลายของผิวหนังและกระดูก ทำให้เกิดความพิการ) โดยนำพลูคาวทั้งต้นมาต้มเคี่ยวจนน้ำงวด แล้วรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อเช่นกัน

4. ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ขับระดูขาว (ตกขาว) รักษาฝีหนองในปอด โดยนำพลูคาวทั้งต้น มาต้มในน้ำแค่พอเดือด รับประทานแทนน้ำเปล่า เมื่ออาการดีขึ้น ให้รับประทานน้ำเปล่าเช่นเดิม

5. นิยมให้ผู้หญิงหลังคลอดบุตรรับประทานเป็นอาหารเพื่อเป็นการบำรุงร่างกายและโลหิต

แหล่งที่พบ

ผักเผ็ด (ผักคราด)

ผักคราด หญ้าตุ้มหู, ผักเผ็ด (ภาคเหนือ), ผักตุ้มหู (ภาคใต้), อึ้งฮวยเกี้ย

Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMPOSITAE

1. ต้น เป็นพืชล้มลุกลำต้นสูง 20 - 30 เซนติเมตร หรือทอดไปตามดินเล็กน้อยแต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำ มีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย สามารถออกรากตามข้อของต้น

2. ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปสามเหลี่ยมขอบใบหยัก ก้านใบยาว ผิวใบสากมีขนใบกว้าง 3 - 4 เซ็นติเมตร ยาว 3 - 6 เซ็นติเมตร

3. ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุกสีเหลือง ลักษณะกลม ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ก้านดอกยาว ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

4. ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบ แก้ปวดศีรษะ แก้โลหิต เป็นพิษ

ดอก ขับน้ำลาย แก้โรคในคอ แก้ปวดฟัน แก้โรคติดอ่างในเด็ก รักษาแผลในปากในคอ แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต

เมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง

ทั้งต้น แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ชงดื่ม ขับปัสสาวะ แก้หอบไอ แก้ไอกรน แก้ปวดบวม แก้ไขข้ออักเสบ แก้คันคอ แก้ทอนซิลอักเสบ แก้งูรัด สุนัขกัด พอกแก้พิษปวดบวม

ราก ต้มดื่ม เป็นยาถ่าย อมบ้วนปากแก้อักเสบในช่องปาก เคี้ยวแก้ปวดฟัน

แหล่งที่พบ