ไทรย้อย

ไทรย้อยใบแหลม(กรุงเทพฯ, ตราด) ไทรย้อย (สุราษฏร์ธานี)ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์)ไฮ (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เหนือ)

Ficus benjamina L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาทึบ ผิวเปลือกเรียบ สีขาวปนเทา ตามกิ่งก้านมีรากอากาศ แตกห้อยย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก โคนต้นเป็นพูพอน ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกจากกิ่งและส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ปลายใบแหลม โคนใบแหลมสอบ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5 - 11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ดอก: ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผล ผล: รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ แก้กาฬโลหิตและขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ปัสสาวะพิการ

แหล่งที่พบ

ลานสวนดุสิตโพล และซุ้มเขียว โซน B

ไทรใบกลม

ไทร (กรุงเทพฯ) ไฮ (ขอนแก่น, เลย)

Ficus annulata Blume

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาวข้น (latex) ใบ: ใบเดี่ยว รูปกลม ขนาดเล็ก ใบดก สีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบตลอดทั้งใบ ปลายใบมน โคนใบมนและสอบเข้าหากันที่โคนใบดอก: ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผล ผล: รูปกลม สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถตกแต่งให้เป็นรูปทรงพุ่มต่างๆ ตามความต้องการ หรือปลูกเป็นไม้กระถางปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน

แหล่งที่พบ

ด้านข้างศาลาสารภีคู่ทางขึ้นลงสระว่ายน้ำ โซน C

โสก

ส้มสุก (เหนือ) โสกน้ำ (สุราษฏร์ธานี) ชุมแสงน้ำ (นราธิวาส, ยะลา)

Saraca indica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีดำ เนื้อไม้แข็งและเหนียว ใบ: ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่หรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบม เกลี้ยง ใบย่อยรูปไข่แกมขอบขนาน ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกอยู่ที่บริเวณปลายกิ่ง มีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก สีเหลืองอมส้มหรือแดง ไม่มีกลีบดอก กลิ่นหอม ผล: ผลเป็นฝักแบน รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปหอก

การนำไปใช้ประโยนชน์

แก้ไอ ขับเสมหะและบำรุงธาตุ ดอกอ่อน ใบอ่อนและนำมาปรุงเป็นอาหาร

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนและที่จอดรถของสถาบันฯ โซน B