กระดังงาจีน

กระดังงาจีน การเวก (กลาง) สะบันงาจีน (เหนือ)

Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANNONACEAE

ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดซุ้มหรือค้าง ให้ร่มเงาได้ดี ผิวของกิ่งก้านค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีขนใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4-8.5 เซนติเมตร ยาว 8.5-20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอก: ดอกช่อ ดอกอ่อนสีเขียว มีขน เมื่อแก่สีเหลือง ผิวค่อนข้างเรียบ กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-4.5 เซนติเมตร โคนกลีบเว้าคล้ายรูปไข่ป้อมและโค้งแนบกับโคนกลีบชั้นใน มีจุดกระสีแดงที่ด้านในของโคนกลีบ เนื้อกลีบหนา กลีบดอกชั้นในคล้ายกลีบชั้นนอกแต่ขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ยอดเกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน ผล: เป็นผลกลุ่ม กลุ่มละ 4-20 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นไม้ดอกไม้ประดับให้ร่มเงา ให้ดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอ่อน ใช้ทำเครื่องหอม

แหล่งที่พบ

หน้าศาลาชื่นอารมณ์และศาลากระจ่างศรี โซน C

กระโดน

ปุย (ใต้, เหนือ) ปุยกระโดน (ใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ

Careya sphaerica Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LECYTHIDACEAE

เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบช่วงสั้นๆ สูง 8-20 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทา หรือสีน้ำตาลดำ แตกปริเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม เนื้อใบหนา เกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นขอบใบ เส้นใบย่อยเป็นแบบร่างแห ขอบใบหยักถี่ๆและตื้น ก้านใบอวบ ค่อนข้างแบน ผิวเกลี้ยง ดอก: ขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน ออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง บานตอนเช้า กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก สีเขียวอ่อนบริเวณขอบกลีบและโคนกลีบออกสีชมพู หลุดง่าย เกสรผู้สีขาว มีจำนวนมาก โคนก้านเกสรจะติดรวมกัน มีสีแดงอ่อนๆ ผล: กลม สีเขียว ขนาดใหญ่ ลักษณะอวบน้ำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ทำบ้านเรือน เปลือกให้เส้นใยหยาบๆใช้ทำเชือก ทุบทำเบาะรองหลังช้าง และทำกระดาษสีน้ำตาล สรรพคุณด้านสมุนไพร เปลือก เป็นยาสมาน แก้เคล็ด แก้เมื่อย ดอกเป็นยาบำรุงภายหลังคลอดบุตร ใบใช้รักษาแผลสด ผลช่วยย่อยอาหาร

แหล่งที่พบ

หน้าห้องปฐมพยาบาล โซน B บริเวณสนามเด็กเล่น หน้าอาคาร 7 โซน D

กระบก

กระบก กะบก จะบก (กลาง), จำเมาะ (เขมร), ซะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ)

Irvingia malayana Oliv. ex A.W. Benn.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • IRVINGIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอก: ดอกช่อขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ประโยชน์ ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อในเมล็ดกินได้ น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไข

แหล่งที่พบ

: ด้านหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรม โซน C