มะกอก

กุก (เชียงใหม่, เชียงราย) กอกกุก (เชียงราย) กอกเขา (ใต้, นครศรีธรรมราช)

Spondias pinnata (L.f.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 4-6 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน ผล: ผลกลมรี เปลือกเหนียวคล้ายหนัง สีเขียว เมล็ดเดียว แข็ง รูปไข่ กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร เมล็ดสุกสีเหลือง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ทำแบบก่อสร้าง ผลแก่รับประทานได้และเป็นอาหารสัตว์

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐและหน้าอาคารตึกใหญ่ โซน B

มักเม่า

มัดเซ (ระนอง) เม่าเสี้ยน (ลำปาง) เม่าหลวง (พิษณุโลก) หมักเม่า (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

Antidesma thwaitesianum Muell. Arg

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHORBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 12-15 เมตร ใบ: ใบเดี่ยว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เรียงสลับ ดอก: ออกเป็นช่อแบบ spike ดอกแยกเพศต่างต้น ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล: ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว เมื่อเข้าสู่ระยะสุกในเดือนสิงหาคม-กันยายน จะเปลี่ยนเป็นสีแดงและเป็นสีดำเมื่อสุกจัด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ส่วนผลดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมนำมาประกอบอาหารคล้ายส้มตำ ผลนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์แดงให้สีสันและรสชาติดี ปัจจุบันเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ โดยนำมาเพาะปลูกขายต้นพันธุ์

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคารเรียน 2 โซน A ด้านหน้าอาคารหอพัก โซน B

มะกัก

มะกอกป่า (กาญจนบุรี, นครราชสีมา) หมักกัก (ราชบุรี, สระบุรี) กอกกัก (นครสวรรค์)

Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกว้างๆ โปร่ง กิ่งอ่อนอวบ มีรอยแผลใบปรากฏอยู่และมีขนนุ่มๆ ทั่วไป เปลือกนอกสีเทา เรียบ มีต่อมระบายอากาศทั่วไป เปลือกในสีขาว ใบ: ใบประกอบขนนกแบบสองชั้น ช่อใบยาวถึง 40 เซนติเมตร เรียงสลับเวียนกันตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆจะมีช่อย่อยติดเรียงสลับ 5-10 ช่อ ช่อย่อยประกอบด้วยใบรูปไข่หรือรูปหอก ติดตรงข้ามหรือเยื้องกัน 3-6 คู่ ใบที่อยู่ปลายสุดของก้านช่อย่อยจะเป็นใบเดี่ยวๆ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5 - 9 เซนติเมตร ใบคู่ต้นๆ จะมีขนาดเล็กกว่าคู่ทางปลายช่อ โคนใบเบี้ยว ส่วนปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบค่อนข้างบาง ดอก: ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ผล: ผลสด กลมรี สีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง มี 1 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำหีบใส่ของ แบบหล่อคอนกรีต กล่องและไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไส้ไม้อัดและทำเยื่อกระดาษ ผลแก่รับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมและเป็นอาหารสัตว์ป่าได้ดี

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าห้องปฐมพยาบาล