ลำดวน

หอมนวล (ภาคเหนือ)

Melodorum fruticosum Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANNONACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ผิวแตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ รูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียว ดอก: ดอกเดี่ยว สีเหลืองนวล กลีบดอกหนา มีจำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ ผล: ผลกลุ่ม ผลย่อยกลมขนาดเล็ก ปลายผลมน โคนผลแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียว เมื่อสุกเป็นสีม่วงหรือดำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมเหมาะสำหรับปลูกในบ้าน ดอกลำดวนแห้งมีสรรพคุณ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้ ใช้ผสมยาหอม แก้ลม วิงเวียน บำรุงหัวใจ

แหล่งที่พบ

แนวทางเดินด้านข้างสระว่ายน้ำหลังอาคาร กนิษฐ โซน C

ลำใย

ลำใยป่า (กลาง, อุตรดิตถ์)

Dimocarpus longan Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดลำต้นและกิ่งก้านมีสีน้ำตาลอมเทา ใบ: ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ใบดกหนาทึบ รูปหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม ดอก: ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนๆ ผล: มีลักษณะเป็นลูกกลม เปลือกสีน้ำตาล เนื้อในผลสีขาวใส รสหวาน มีเมล็ด 1 เมล็ด มีสีดำ ผลจะแก่จัดในราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลใช้รับประทาน ใบสดมีรสจืดและชุ่ม ใช้เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาดและแก้ไข้หวัด โดยนำเอาต้มน้ำกิน ดอกเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย เมล็ดต้มหรือบดเป็นผงกินจะมีรสฝาด ใช้ภายนอกรักษากลากเกลื้อน แผลมีหนอง แก้ปวด สมานแผล ใช้ห้ามเลือด

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

ศรีตรัง

แคฝอย (กรุงเทพฯ, เหนือ)

Jacaranda filicifolia D. Don.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ดอก: ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง สีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ให้ร่มเงาและความสวยงามทั่วไป

แหล่งที่พบ

หลังซุ้มเขียว โซน B