หญ้าแห้วหมู

หญ้าแห้วหมูหรือหญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), ซาเช่า (แต้จิ๋ว), ซัวฉ่าว (จีนกลาง)

Cyperus rotundus L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CYPERACEAE

ต้นแห้วหมู หรือ ต้นหญ้าแห้วหมู จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก จัดอยู่ในจำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก มีสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นดิน มีขนาดเล็กเรียวเป็นเหลี่ยม มีความสูงประมาณ 4-10 นิ้ว มีสีเขียวแก่ เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือการใช้หัวหรือไหลใต้ดิน เป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตามทุ่งนา ข้างทางหรือที่รกร้าง กระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน

ใบแห้วหมู ใบเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแต่แผ่เป็นใบ ใบมีขนาดเล็ก มีลักษณะแบนเรียวยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 25 เซนติเมตร

ดอกแห้วหมู ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกมีขนาดเล็ด หนึ่งช่อดอกมีใบประดับประมาณ 2-4 ใบ กางออกอยู่ฐานช่อดอก ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีสีน้ำตาล

ผลแห้วหมู ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลมีสีน้ำตาลหรือสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

ช่วยขับลม

แก้อาการแน่นหน้าอก อาเจียน

แก้ปวดท้อง

ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ

เป็นยากล่อมประสาท

เป็นยาแก้ปวดในหญิงที่ประจำเดือนไม่ปกติ

ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ

ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาพอกฝีดูดหนอง

ใช้เป็นยาบำรุงทารกในครรภ์

ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด เฟ้อ

ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ

รักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

รักษาแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มความดันโลหิต

ช่วยกระตุ้นประสาท กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด

ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบ

บำรุงหัวใจ

กระตุ้นระบบหายใจ

ช่วยลดระดับไขมัน

แหล่งที่พบ

ฝางเสน

ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาคกลาง), ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ), สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน), ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง)

Caesalpinia sappan L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ลำต้นฝางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้น และกิ่งก้านมีหนามขนาดใหญ่ โคนหนามพองโตคล้ายเต้านม

ใบประกอบด้วยก้านใบยาว และมีก้านย่อยที่ประกอบด้วยใบย่อย ก้านใบ 1 ก้าน มีก้านย่อยประมาณ 12 ก้าน แต่ละก้านย่อยประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 13 คู่ ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะแบบขนนก คล้ายใบมะขาม สีเขียวสด และเมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม ใบเรียบ ปลายใบมน และเว้าตรงกลางเล็กน้อย ผิวใบเรียบทั้ง 2 ด้าน

ดอกฝางออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลือง กลางดอกมีสีแดง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง และซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบรองว้อนทับกันที่ขอบกลีบ โดยมีกลีบล่างสุดมีลักษณะโค้งงอ และมีขนาดใหญ่สุด ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบเช่นกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหัว ขอบกลีบมีลักษณะย่น ด้านในดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน

ผลเป็นฝัก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแข็ง แบนสีเขียว เหมือนมีดปังตอ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม และแก่เต็มที่หรือแห้งจะมีสีน้ำตาลดำหรือดำ บริเวณผิวฝักมีลายแต้มเป็นจุดๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับถั่วแปบ โดยมีปลายฝักยื่นออกมาเป็นจงอยแหลม ด้านในฝักมีเมล็ดทรงเรียวรี 2-4 เมล็ด/ฝัก

การนำไปใช้ประโยนชน์

แก่นฝาง - รสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ มีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม แก้เลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ แก้อาการหัวใจขาดเลือด (จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก) กระจายเลือดที่อุดตัน ลดการปวดมดลูกในสตรีหลังคลอด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น น้ำต้มแก่นฝางให้สีแดง ใช้เป็นหลักในการทำน้ำยาอุทัย ใช้แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี

เมล็ด - เมล็ดแก่แห้ง นำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง หรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้

เนื้อไม้ - เป็นส่วนผสมหลักในยาบำรุงหลังคลอดบุตร ผสมกับปูนขาว บดทาหน้าผากหลัง คลอดบุตร ช่วยให้เย็นศีรษะ และลดอาการเจ็บปวด เป็นยาขับระดูอย่างแรง แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้โลหิตตกหนัก แก้เสมหะ ดี และโลหิต

ราก - ให้สีเหลือง ใช้ทำสีย้อมผ้า และไหม ใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม

แหล่งที่พบ

หมามุ่ย

บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) หมามุ้ย ตำแย

Mucuna pruriens (L.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก หลุดร่วงง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ เพราะขนหมามุ่ยเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ซึ่งฝักจะออกมาในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

หมามุ่ย ใช้เป็นยาบ้ารุงก้าลัง ไม่เหนื่อยง่าย ช่วยท้าร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง ช่วยท้าให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส สรรพคุณของหมามุ่ย ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างน้้าอสุจิ และช่วยปรับคุณภาพของน้้าเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่ม การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (เพิ่มโอกาสการมีลูกได้มากขึ้น) ช่วยท้าให้คู่รักมีความสุขและช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างกัน ให้ดีมากยิ่งขึ้น สรรพคุณหมามุ่ย ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ เพิ่มความถี่ของการผสมพันธุ์ให้มากยิ่งขึ้นเป็น 10 เท่า (มีการทดลองในสัตว์) หมามุ่ย สรรพคุณช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้ ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ ประโยชน์หมามุ่ย ช่วยท้าให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น ช่วยท้าให้ ผิวพรรณดูมีน้้ามีนวลมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น สรรพคุณเมล็ดหมามุ่ย ช่วยรักษาภาวะการมี บุตรยากทั้งชายและหญิง หมามุ่ยสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยเพิ่มการเผา ผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช้้าใน ด้วยการใช้รากหมามุ่ย 1 กิโลกรัม เมล็ดผักกาด 5ขีด และเมล็ดผักชี 3ขีด น้ามาต้ารวมกันจนเป็นผงแล้วผสมน้้าผึ้งป่าหมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วน้ามาใช้กินก่อนนอน (ขนาด เท่าผลมะพวง) ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการใช้รากหมามุ่ยน้ามาต้มกินแก้อาการ (ราก) ใช้แก้อาการคัน (ราก) เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด) ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ (ราก) ช่วยแก้พิษแมงป่องกันได้ ด้วยการใช้เมล็ดต้าเป็นผงแล้ว น้ามาพอกบริเวณที่โดนต่อย (เมล็ด) หมามุ่ยประโยชน์ในปัจจุบันมีการน้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารในรูปของแคปซูล หมามุ่ยสกัด กาแฟหมามุ่ย เป็นต้น

แหล่งที่พบ