ชมพูพันธ์ทิพย์

ชมพูอินเดีย ตาเบบูยา ธรรมบูชา (กลาง)

Tabebuia rosea (Bertol.) DC.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ผลัดใบ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้นๆ ใบ: ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปแตร มีหลายสี คือ สีขาว ชมพูอ่อน หรือชมพู กลางดอกสีเหลือง ดอกมักบานพร้อมๆกัน และร่วงง่าย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผล: เป็นฝัก เมื่อแก่จะแตกออก ขนาดฝัก ยาว 32.53 เซนติเมตร กว้าง 1.24 เซนติเมตร เมล็ดมีลักษณะแบน สีน้ำตาล มีปีกเป็นเยื่อบางทั้ง 2 ด้านของเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ชมพูพันธ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศและโรคแมลง โตเร็ว มีดอกงดงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับและร่มเงา

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นศาลพระภูมิด้านข้างโรงแรมสวนสิตเพลส 2 โซน C

ต้นจันอิน

จัน, จันขาว, จันลูกหอม, จันโอ, อินจัน (กลาง)

Diospyros decandra Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EBENAEAE

ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10 - 20 เมตร เปลือกสีดำ ทรงพุ่มกลมทึบ ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 3 เซนติเมตร 7 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลม ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล รูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผล: ผลมีสองรูปทรง คือ ทรงกลมแป้นเรียกว่า ลูกจัน และทรงกลมเรียกว่า ลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง กลิ่นหอม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-6 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ประโยชน์ แก่นผสมกับสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ผลสุก รับประทานแก้ท้องเสียอย่างอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

ศาลพระภูมิ โซน C

ตะไล

ช้างเผือก (กทม., เหนือ) คงคาเดือด (กลาง, ตราด) ตะไลคงคา (ชัยนาท) สมุยกุย (นครราชสีมา) หมากเล็กหมากน้อย (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์)

Arfeuillea arborescens Pierre

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPINDACEAE

เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูง ประมาณ 10-12 เมตร เปลือกสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาวๆ ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยมี 1-4 คู่ ก้านใบประกอบยาว 1-2 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ใบย่อยรูปไข่ ยาว 2-7 เซนติเมตร ปลายใบเว้าตื้นหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในช่อเดียวกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ สีแดงอมเขียว กลีบดอกมี 2-4 กลีบ สีขาว ขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร จานฐานดอกรูปคล้ายปาก ผล: ผลแบบแคปซูล บาง มีปีก เกลี้ยง ทรงรี ยาว 3.2-5.5 เซนติเมตร ปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่กลับ สีดำ มีขนสีน้ำตาล ยาว 5-5.5 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

เป็นยาฆ่าพยาธิ แก้ไอ แก้ไข้ เนื้อไม้ขับพยาธิ ดับพิษไข้ เปลือกแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน13 และที่จอดรถของสถาบันฯ โซน B หน้าอาคารเรียน4 โซน C