มะรุม

บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน)

Moringa oleifera Lam.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORINGACEAE

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้

ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma

แหล่งที่พบ

แมงลัก (ผักกอมก้อ)

ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ), มังลัก อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

Ocimum africanum Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APIACEAE (LABIATAE)

ไม้ล้มลุกอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมเหลือง เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีขาวหนาแน่น ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปหอกถึงวงรี กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ มีต่อมมันทั่วไป ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกๆ ละ 3 ดอก ข้อละ 2 กระจุก ใบประดับรูปวงรีแกมใบหอก ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีขน ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 พู กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 4-6 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมียมีไข่ 4 อัน รังไข่เว้าเป็น 4 พู ผลแห้งประกอบด้วยผลย่อย 4 ผล มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลย่อยทรงรูปไข่ สีดำ กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 1.25 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

เมล็ด ใช้เป็นยาระบาย

แหล่งที่พบ

ย่านางแดง

สยาน (ตาก, ลำปาง), เครือขยัน (ภาคเหนือ), หญ้านางแดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขยัน, เถาขยัน

Bauhinia strychnifolia Craib.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

เป็นไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลประมาณ 4-10 เมตร เถาเป็นสีน้ำตาลดำพาดพันต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว รูปกลมรีปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสดและเป็นมัน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ลักษณะดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานและห้อยลงเหมือนกับดอกประทัดจีน ช่อดอกยาวประมาณ 100 ซม. ดอกยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีแดงมีด้วยกัน 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เวลามีดอกจะดูสวยงามยิ่ง “ผล” เป็นฝักยาวรูปแบน ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ดหลายเมล็ดดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และเสียบยอด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี ใช้ ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา

ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

ตำรายาไทย ใช้ ใบ เถา และราก ใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า

แหล่งที่พบ