ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลาย ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพมหานคร), สามสิบดี เขตตายยายคลุม (ร้อยเอ็ด), หญ้ากันงู (สงขลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง), ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า (จีน)

Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ACANTHACEAE

เป็นไม้ล้มลุกมีอายุฤดูเดียว สูง 30-60 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยวมีสีเขียวเข้ม ออกเรียงตรงข้าม รูปคล้ายใบหอก โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ แต้มแถบสีม่วงแดง ปากล่างมี 2 กลีบ เกสรเพศผู้มี 2 อัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ข้างในมีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาล

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่า ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัด หรือร้อนในบ่อย ๆ หากรับประทานฟ้าทะลายโจร จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น จึงไม่เป็นหวัดง่าย อาการร้อนในจะหายไป

2. ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี ฯลฯ

3. แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ

4. เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร

แหล่งที่พบ

มะแขว่น

มะกรูดตาพราหมณ์ (นครราชสีมา); กำจัดต้น, พริกหอม, หมากมาศ (กรุงเทพฯ); มะข่วง, มะแขว่น, บ่าแข่น (ภาคเหนือ); มะแข่น (ไทสิบสองพันนา); มะแขว่น (ลาว); ลูกระมาศ (ภาคกลาง); หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน); มะเข่น, มะแข่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

Zanthoxylum limonella Alston

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Rutaceae

ลำต้นมะแขว่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นมีเปลือกสีเทาอมขาว ลำต้น และกิ่ง มีตุ่มหนามแหลมขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุม

ใบ มะแขว่น เป็นประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลักยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีหนามเป็นระยะๆ บนก้านใบมีใบย่อย 10-28 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีก้านใบสั้น 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบย่อยแต่ละใบมีรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบ และแผ่นใบเรียบ ใบมีความกว้าง ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบจะมียาง และมีกลิ่นหอม

ดอกมะแขว่น ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายบริเวณปลายยอด ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนตัวดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายช่อของแต่ละก้านช่อย่อย ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีรูปทรงกลม สีขาวอมเขียว ขนาดดอกประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบรองดอก 4 กลีบ และกลีบดอก 4 กลีบ ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ทั้งนี้ ดอกมะแขว่นจะเริ่มออกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

ผลมะแขว่นมีลักษณะทรงกลม ขนาดประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลแก่มีเปลือกสีแดง และแก่จัดมีสีดำอมน้ำตาล เปลือกผลมีผิวขรุขระ และปริแตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแก่จัดหรือเมื่อผลแห้งจนมองเห็นเมล็ดด้านใน ซึ่งมีลักษณะทรงกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และเป็นมัน ขนาดเมล็ดประมาณ 0.25-0.35 เซนติเมตร ผลมะแขว่นนี้ นิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ซึ่งให้รสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมแรง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เมล็ด สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน

ราก, เปลือกและเนื้อไม้ ขับลมในลำไส้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์)

ใบ ขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน

ตำรายาจีน ใช้แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย และแก้อาการปวดไส้เลื่อน

แหล่งที่พบ

ยี่หร่า

ยี่หร่า กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้)

Ocimum gratissimum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุของการเติบโตประมาณ 2 ปี เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แจ้ง มีแสงแดด

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย มีเส้นกลาง ส่วนเส้นแขนงมีลักษณะเป็นร่างแห ขอบใบหยักเหมือนใบเลื่อย มีกลิ่นหอม นิยมไปผัดทำอาหารเพื่อเพิ่มกลิ่นให้ชวนรับประทานหรือช่วยดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์

ดอก ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ประกอไปด้วยดอกย่อยประมาณ 50-100 ดอก ดอกย่อยเป็นชั้นคล้ายฉัตร ก้านดอกเรียวยาว สีเขียวอมม่วง ดอกจะบานจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน

ผล มีขนาดเล็ก ทรงกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลหรือดำ มีเมล็ดอยู่ภายใน นิยมนำมาตากแห้งแล้วนำไปเป็นเครื่องเทศสำหรับประกอบอาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมมากขึ้น

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกง ซุป ต้มยำ เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น

เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย

น้ำมันยี่หร่า (Caraway oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย

แหล่งที่พบ