งาดำ

Sesamum indicum L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PEDALIACEAE

ลำต้น งาดำ เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุฤดูเดียว มีลำต้นตั้งตรง อาจแตกกิ่งหรือไม่แตกกิ่งแขนง ลำต้นสูงประมาณ 50-150 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะสีเหลี่ยม มีร่องตามยาว ไม่มีแก่น มีลักษณะอวบน้ำ และมีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นบาง มีสีเขียว

ใบ ใบงาดำ ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นชั้นๆตามความสูง ประกอบด้วยก้านใบสั้น ยาวประมาณ แผ่นใบมีรูปหอก สีเขียวสด กว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีเส้นแขนงใบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆยาวจรดขอบใบ

ดอก ดอกงาดำเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตรงซอกใบ จำนวน 1-3 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น มีกลีบรองดอก จำนวน 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นกรวย ห้วยลงดิน กลีบดอกอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกเมื่อบานมีสีขาว ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กลีบล่าง และกลีบบน โดยกลีบล่างจะยาวกว่ากลีบบน ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 2 คู่ มี 1 คู่ยาว ส่วนอีกคู่สั้นกว่า ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อัน มีก้านเกสรยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายก้านเกสรแหว่งเป็น 2-4 แฉก

ผล และเมล็ด ผลงาดำเรียกว่า ฝัก มีลักษณะทรงกระบอกยาว ผิวฝักเรียบ ปลายฝักแหลมเป็นติ่ง และแบ่งออกเป็นร่องพู 2-4 ร่อง กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว และมีขนปกคลุม ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำอมเทา จากนั้น ร่องพูจะปริแตก เพื่อให้เมล็ดร่วงลงดิน

ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ก สีดำจำนวนมาก เมล็ดเรียงซ้อนในร่องพู เมล็ดมีรูปรี และแบน ขนาดเมล็ดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดบางมีสีดำ มีกลิ่นหอม แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 80-100 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ช่วยในการเผาผลาญ สลายไขมัน ลดความอ้วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

2. ลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล

3. ทำให้ระดับไขมันอยู่ในสัดส่วนพอดี

4. ช่วยในการทำงานของวิตามินอี

5. ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท

6. ลดปฏิกิริยาความเครียด

7. ต้านอนุมูลอิสระ

8. ต้านการอักเสบ

แหล่งที่พบ

จันทร์เทศ

จันทน์บ้าน (ภาคเหนือ, เงี้ยว-ภาคเหนือ), โย่วโต้วโค่ว โร่วโต้วโค่ว (จีนกลาง), เหน็กเต่าโข่ว (จีนแต้จิ๋ว) ปาลา (มาเลเซีย)

Myristica fragrans Houtt.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRISTICACEAE

ม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 4-10 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปกลมรี หรือขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อกระจายหรือช่อกระจุกสั้นๆบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อละ 1-5 ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกมีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ผลรูปกลมรี เปลือกสีเหลือง ออกส้ม มีขนปกคลุม เนื้อสีครีมมีรสเปรี้ยวฝาด มีกลิ่นหอม เมื่อแก่ผลแตกตามยาวออกเป็นสองซีก เมล็ดรูปทรงรี สีน้ำตาล เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีแดงเข้มปนชมพู

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อจันทน์เทศมีรสเปรี้ยวฝาด กลิ่นหอม เนื้อผลแก่นิยมนำไปแปรรูปเป็นของขบเคี้ยว ให้รสหอมสดชื่น เผ็ดธรรมชาติ หวานชุ่มคอ และมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้บิด

ดอกตัวผู้ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในเครื่องยาจีน มีฤทธ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุอาหารพิการ นำมาชงน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหาร

น้ำมันลูกจันทร์ นำมาทำเป็นยาดม

ดอกจันทร์และลูกจันทน์ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดศรีษะ ร้อนใน ผื่นคัน ลมจุกเสียด เลือดกำเดาออก ท้องร่วง บำรุงปอด หัวใจ ตับ น้ำดี ช่วยให้เจรฺญอาหาร ขับลม ขับเสมหะ และกระจายเลือดลม

ในปัจจุบันจันทน์เทศใช้ในอุตสาหกรรมที่อเมริกามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เครื่องหอม เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ลูกอมลูกกวาด

แหล่งที่พบ

ดีปลี

ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง), พิษพญาไฟ ปีกผัวะ

Piper retrofractum Vahl

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PIPERACEAE

ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า บางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลดีปลี มีรสเผ็ดร้อน ขม ช่วยลดอาการไอ อาการระคายคอจากเสมหะ ลดอาการหืด แก้อาการหลอดลมอักเสบ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียน ใช้เป็นยาขับระดู ยาขับพยาธิ ยารักษาริดสีดวง ยาบำรุงธาตุ อีกทั้งยังนำมาทาภายนอก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดอักเสบ บวม และฟกช้ำ

ใบ มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อย ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า พอกแก้ฟกช้ำ

เถา มีรสเผ็ดร้อน ช่วยลดอาการปวดท้อง แก้จุกเสียด ริดสีดวงทวาร แก้ลม เจริญอาหาร ลดอาการกล้ามเนือเรียบหดเกร็ง

เถาและกิ่ง นำมาฝนกับน้ำ ช่วยแก้อาการปวดฟัน ลดอาการฟกช้ำและบวม

รากสด ตำผสมเหล้า พอกลดอาการฟกช้ำได้

ดอก ลดอาการท้องร่วง ขับลม ริดสีดวง เพิ่มความอยากอาหาร รักษาอาการวิงเวียน

ราก มีรสเผ็ดร้อน แก้เส้น แก้หืด แก้ไอ วิงเวียน ปวดท้อง

แหล่งที่พบ