เพกา

ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน)

Oroxylum indicum (L.) Kurz

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • BIGNONIACEAE

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้นปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวตรงข้าม เส้นใบแบบตาข่าย โดยสีของผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง

ดอก ดอกช่อแบบกระจะ ก้านช่อดอกยาว สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยติดคงทนจนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่บนมี 2 กลีบ เนื้อกลีบพับย่น สีแดงเลือดหมู เกสรเพศผู้มี 5 อัน โดยมี 1 อันเป็นหมันซึ่งก้านชูอับเรณูจะสั้น ส่วนอีก 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ติดบนหลอดกลีบดอกด้านใน อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูแบบถ่าง เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ กานเรียงพลาเซนตาเป็นแบบพลาเซนตารอบแกนร่วม

ผล เป็นฝักแบนขนาดใหญ่ รูปดาบ ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย คล้ายฝักหางนกยูงฝรั่ง มักออกห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ปล่อยเมล็ดที่อยู่ข้างในฝักจำนวนมากมาย ล่องลอยไปตามลม

เมล็ด ลักษณะแบนสีน้ำตาลอ่อน ทั้งสองด้านมีเยื่อบางใส สีขาว โปร่งแสงคล้ายปีก ช่วยให้ล่องลอยไปตามกระแสลมได้ไกลๆ เกิดการแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกบริเวณโดยรอบ

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกต้น มีรสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ขับลมในลำไส้ แก้โรคบิด ท้องร่วง บำรุงโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย บางแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอาเปลือกต้นมาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงโลหิต การใช้รักษาฝี – นำเปลือกต้นฝนทารอบๆบริเวณฝี ช่วยลดความปวดฝีได้ การใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ - นำเปลือกต้นฝนกับน้ำปูนใสทาลดอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ

ราก มีรสฝาดขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิด หากนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะช่วยให้หายไปในระยะเวลาอันสั้น

ฝักอ่อน นิยมรับประทานเป็นผัก ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหาร

เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

ยาพอกแก้โรคฝี เอา เปลือกเพกา ฝนกับน้ำสะอาด ผสมกับเมล็ดต้อยติ่ง ทาหรือพอก ดับพิษฝี

แก้โรคงูสวัด ใช้รากต้นหมูหมุน ( พืชตระกูลสาวน้อยปะแป้ง) เปลือกคูณ เปลือกต้นเพกา ฝนใส่น้ำทา

ยาพอกแก้โรคฝี เอาเมล็ดต้อยติ่ง ผสมกับน้ำเปลือกเพกา ฝนทา หรือพอกดับพิษฝี

ยาแก้พิษหมาบ้ากัด เอาใบกระทุ้งหมาบ้า ลนไฟปิดปากแผล หรือเอาเปลือกเพกา ตำพอกแผล

ยาแก้ลูกอัณฑะลง ( ไส้เลื่อน) ใช้รากเขยตาย เปลือกเพกา หญ้าตีนนก ทั้งหมดตำให้ละเอียด ละลายน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด ทาลูกอัณฑะ ทาขึ้น ( อย่าทาลง)

ยาแก้เบาหวาน ใช้ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า ใบเลี่ยน รากหญ้าคา บอระเพ็ด แก่นลั่นทม เปลือกเพกา รวม 7 อย่าง หนักอย่างละ 2 บาท มาต้มรับประทานครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า - เย็น

แหล่งที่พบ

มะขามป้อม

กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • PHYLLANTHACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล : นำมาทานหรือคั้นเป็นน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย แก้กระหาย แก้หวัด แก้ไอ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ และใช้ล้างตาแก้ตาแดงได้

เมล็ด : นำมาชงน้ำร้อนดื่มแก้หืด แก้อาหารคลื่นไส้ อาเจียน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ และนำมาล้างตา ช่วยรักษาโรคตาต่างได้ อีกทั้งถ้าบีบเอาน้ำมันจากเมล็ดมาทาศีรษะสามารถช่วยให้เส้นผมดกดำขึ้นได้

เปลือก : นำมาต้มน้ำทานแก้โรคบิดและช่วยรักษาอาการฟกช้ำได้

ก้าน : นำมาต้มน้ำแล้วนำไปอมช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อย และแก้ปวดเมื่อยตามกระดูกได้

ใบ : นำมาต้มอาบ ช่วยลดไข้ได้

ดอก : ใช้เข้าเครื่องยา ทำเป็นยาเย็นและยาระบายได้

ยาง : นำมาทานช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ และนำไปหยอดตาแก้อาการตาอักเสบได้

ราก : สามารถนำมาทานแก้ท้องเสีย แก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน กินเป็นยาลดไข้ ช่วยฟอกเลือด และช่วยลดความดันเลือดลงได้

แหล่งที่พบ

มะเขือส้ม

มะเขือเครือ (เหนือ) มะเขือปู (พิษณุโลก)

Lycopersicum esculentum Mill

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • Solanaceae

ต้น : ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ล้มง่าย แต่ส่วนที่แตะลงดินจะแตกรากได้ ลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม

ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปคล้ายขนนก ริมขอบใบหยักเว้าลึก หรือหยักเป็นฟันเลื่อย

ดอก : ดอกออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ เป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี กลมแบน หรือกลมใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง

เมล็ด : เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นมีจำนวนมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใช้ใบสด เป็นยาทาหรือพอกแก้ผิวหนังถูกแดดเผา ผล แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย อ่อน ๆ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงและกระตุ้นกระเพาะ อาหาร ใช้รากสด แก้ปวดฟัน ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ใช้ ผลสด นำมารับประทาน ปรุงอาหาร แก้กระหายน้ำ ส่วนที่นำมาทำอาหารได้คือผลสุกที่มีสีสันส้ม แดง หรือบางท้องถิ่นก็นิยมผลเขียวที่ไม่สุกด้วยเช่นกัน สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิดแทนมะเขือเทศได้เลย เช่น น้ำพริกอ่อง แกงส้ม ต้มยำ ส้มตำ

แหล่งที่พบ