มะเขือขื่น (มะเขือแจ้)

มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (เชียงใหม่), มังคิเก่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เขือเพา (นครศรีธรรมราช), มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง (ภาคเหนือ), เขือหิน (ภาคใต้)

Solanum aculeatissimum Jacq.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SOLANACEAE

เป็นไม้พุ่ม สูง ประมาณ 1 – 3 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว บริเวณก้านใบและใบจะมีหนามปกคลุม ดอกเป็นช่อ ออกบริเวณตอนล่างของใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีม่วงเข้ม มีขนปกคลุม ผลรูปร่างกลม หรือค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงเจริญติดกับผลด้วย บริเวณกลีบเลี้ยง มีหนามปกคลุม ผลแก่ มีสีเขียวปนเหลือง เปลือกผล เหนียวกว่าและไม่กรอบเท่ามะเขือเปราะ เมล็ดในผลมีมากมาย รูปร่างค่อนข้างกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 -3 เซนติเมตร ออกดอกออกผลตลอดปี มักพบขึ้นตามที่รกร้างและในสวน

การนำไปใช้ประโยนชน์

มีวิตามินซี มีวิตามินเค มีโพแทสเซียม มีวิตามินเอ มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีคาร์โบไฮเดรต มีพลังงาน มีเส้นใย มีโปรตีน มีโซเดียม ช่วยขับเสมหะ ช่วยกัดเสมหะ แก้ไข้ ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต ช่วยรักษาอาการปวดศรีษะ แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดฟัน แก้พิษต่างๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยรักษาหนอง ช่วยขับลม ช่วยรักษาปวดบวม ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง แก้น้ำลายเหนียว ช่วยขับพยาธิ

แหล่งที่พบ

กร่าง

กร่าง

Ficus altissima Blume.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10 - 30 เมตร ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่นกหรือ ค้างคาวจะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่าง ๆ หรือจะขยายพันธุ์ ด้วยการปักชำหรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล
  ผลสามารถรับประทานได้ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
เมล็ด
  ใช้เป็นยาเย็นและยาบำรุงร่างกาย
เปลือกต้น
  เป็นยาชงใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องเดิน ใช้เป็นยาช่วย ห้ามเลือด
ใบ
  ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด
ยางจากต้น
  ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร ใช้แก้หูด ทาแก้ไขข้ออักเสบ

แหล่งที่พบ

กระโดน

กระโดน

Careya arborea Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

   ไม้ต้น ผลัดใบ อาจสูงได้ถึง 30 ม. แตกกิ่งต่ำ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม หูใบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปไข่กลับกว้าง ยาว 20 - 30 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย เส้นแขนงใบเรียงจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบคล้ายเป็นครีบ ยาว 1-3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ตั้งขึ้น ออกที่ปลายกิ่งพร้อมผลิใบอ่อน ใบประดับ 3 ใบ ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่ง เรียงซ้อนเหลื่อม ยาว 2-2.5 ซม. ดอกสีขาวอมเขียว ขอบสีชมพู มี 4 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันประมาณ 1 ซม. สีขาวหรืออมแดง วงนอกยาวกว่าวงด้านใน วงในเป็นหมัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-4.5 ซม. จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 4-5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ผลสดมีหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดจำนวนมาก รูปขอบขนาน แบน ยาวประมาณ 1 ซม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผล

ผลมีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร

เมล็ด

เมล็ดมีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ได้

เปลือกต้น

เปลือกต้นช่วยแก้น้ำกัดเท้า

ใบ

ใบมีรสฝาด ใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล

ดอก

ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

แหล่งที่พบ