ส้มโอ

มะขุน มะโอ (เหนือ)

Citrus maxima (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • RUTACEAE

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาลและมีหนามเล็กๆทั่วไป สูงประมาณ 8 เมตร ใบ : ใบเดี่ยว รูปมนรี กว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน ก้านใบมีส่วนที่แผ่ออกเป็นปีกรูปคล้ายหัวใจ ดอก : ออกดอกเป็นช่อและดอกเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะพบเป็นดอกเดี่ยวออกอยู่ตามง่ามใบ สีขาว มี 4 กลีบ ปลายกลีบมน มีเกสรเพศผู้มีจำนวน 20-25 อัน ผล: ทรงกลมโต ขนาดของผลยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ส่วนหัวของผลจะนูนขึ้นมาเป็นกระจุก เมื่อยังอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลมีต่อมน้ำมันมาก

การนำไปใช้ประโยนชน์

เปลือกผลสีขาวมีธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียมและอื่นๆ ใช้เชื่อมเป็นอาหารหวาน รับประทานเป็นผลไม้ ทำยำส้มโอ ใส่ข้าวยำ ทำเมี่ยงส้มโอและน้ำผลไม้ ผิวผลนอกสุดมีน้ำมันหอมระเหย

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B

สำโรง

จำมะโฮง (เชียงใหม่) มะโรง มะโหรง (ปัตตานี) โหมโรง (ใต้)

Sterculia foetida L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • STERCULIACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ: ใบประกอบรูปนิ้วมือกางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5–6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอก: สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ผล: ผลแห้งแตก รูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ผลออกช่วงเดือน มกราคม-เมษายน

การนำไปใช้ประโยนชน์

ฝักใช้สมานแผลในกระเพาะ เปลือกละลายเสมหะน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารเรียน 1 โซน A

หนวดปลาหมึก

หนวดปลาหมึก (กรุงเทพฯ)

Schefflera actinophylla (Endl.) Harms

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ARALIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นทรงพุ่มแน่น ใบ: ใบเป็นใบประกอบรูปฝ่ามือ เรียงสลับ มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบที่จุดเดียวกันจำนวน 7-11 ใบ ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อนดอก: สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายหนวดของหมึก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ผล: ผลสด มีเมล็ดเดียว ลักษณะแข็งมีสีดำ

การนำไปใช้ประโยนชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ทางขึ้นสระว่ายน้ำด้านข้างศาลาสารภีคู่ โซน C