ขมิ้นชัน

ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)

Curcuma longa L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การนำไปใช้ประโยนชน์

เหง้าใต้ดินบดเป็นผง รักษาแผล แมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาอาการท้องเสีย

แหล่งที่พบ

คำฝอย

คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง

Carthamus tinctorius L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน(Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือคาร์ทามินและ แซฟฟลาเวอร์เยลโลว์ ใช้แต่งสีอาหาร โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อนและใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ ซึ่งดอกคำฝอยแห้ง พบปรากฏเรียกอยู่ในพระคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทยในชื่อว่า "โกฐกุสุมภ์" นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย

การนำไปใช้ประโยนชน์

ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันเส้นเลือด

บำรุงประสาท และระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายสมองให้หลับสบาย

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของโลหิตตามร่างกาย

บำรุงโลหิต สลายลิ่มเลือด

บำรุงหัวใจ ช่วยให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น

รักษาอาการไข้หลังคลอดของคุณแม่

แก้หวัดน้ำมูกไหล

บำรุงโลหิตประจำเดือนของเหล่าคุณผู้หญิง

ยับยั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย

ลดระดับน้ำตาลในเลือด

แหล่งที่พบ

งาขี้ม่อน

งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน งาปุก (คนเมือง), แง (กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ง้า (ลั้วะ), งาเจียง (ลาว), งาม้อน

Perilla frutescens (L.) Britton

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลักษณะนิสัยเป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง 0.3-1 เมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ ขอบหยักฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีขนปกคลุม ดอกสีขาว ผลรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้ม ผิวมีลายร่างแห

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. เมล็ดหรือน้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้กินเป็นยาชูกำลัง โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด)

2. เมล็ดช่วยลดไขมันในเลือด โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (เมล็ด)

3. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด

4. ใบและยอดอ่อนช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (ใบ, ยอดอ่อน)

5. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด

6. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ, ยอดอ่อน)

7. น้ำมันจากเมล็ดนำมาทอดผสมกับเหง้าไพล ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (น้ำมันจากเมล็ด)

8. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบสดช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ (น้ำมันหอมระเหยจากใบ)

9. เมล็ดนำมาบีบเอาน้ำมันใช้เป็นยาทานวด แก้อาการปวดขัดข้อกระดูก (เมล็ด)

10. เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาประคบแก้อาการข้อพลิก (เมล็ด)

แหล่งที่พบ