พะยอม

กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ลาว) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)

Shorea roxburghii G. Don

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • DIPTEROCARPACEAE

เป็นไม้ยืนต้น สูงขนาด 15–30 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งจำนวนมาก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้นๆ ดอก: ออกดอกช่อใหญ่ สีขาว มีกลิ่นหอม ออกตามกิ่งและที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ผล: ผลมีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

การนำไปใช้ประโยนชน์

ดอกแก้ไข้ เปลือกใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด ฟอกหนังและกินแทนหมาก แก้ลำไส้อักเสบ ท้องร่วง

แหล่งที่พบ

ด้านข้างสระว่ายน้ำตรงข้ามห้องอาบน้ำ โซน C

พญาสัตบรรณ

ตีนเป็ด (กลาง) หัสบรรณ (กาญจนบุรี) สัตบรรน (กลาง)

Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • APOCYNACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือก สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลืองค่อนข้างหนา ใบ: ใบเดี่ยว เรียงกันเป็นวง จำนวน 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอก: ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรืออมขาว ออกเป็นกลุ่มในช่อ ซึ่งแยกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง ผล: เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซนติเมตร เมล็ดแบนทรงบรรทัดแคบๆ ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน ลักษณะหยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้ ใบใช้พอกดับพิษต่างๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย

แหล่งที่พบ

ด้านหลังที่ทำการสระว่ายน้ำ โซน C

พิกุล

กุล (ใต้) แก้ว (กลาง, เหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลเขา (นครศรีธรรมราช) พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี) พิกุลป่า (กลาง,สตูล)

Mimusops elengi L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • SAPOTACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกบางๆตามยาว ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นกว้างเป็นทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกจักเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผล: รูปไข่หรือกลมรี ผลแก่สีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ขนาดผลกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดียว

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ขุดเรือทำสะพาน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เป็นต้น ในต้นที่มีอายุมากบางต้นพบว่าเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า “ขอนดอก” เชื่อกันว่าเกิดจากเชื้อราบางตัว นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล

แหล่งที่พบ

ทางเข้าที่จอดรถของสถาบันฯด้านข้างซุ่มเขียวโซนB