ยูคาลิปตัส

ยูคาลิป (กรุงเทพฯ, กลาง)

Eucalyptus camaldulensis Dehnh.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

ลำต้น: เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูง 24-26 เมตร และอาจสูงถึง 50 เมตร เปลือกมีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกง่าย ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปหอก ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบ แบบซี่ร่มหรือแบบกระจุก ดอกย่อยมี 7- 11 ดอก ก้านช่อดอก ยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยเรียว ยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร ดอกตูมรูปกลมหรือกรวยกลม ด้านบนเป็นฝาปิดรูปทรงกลม ปลายมีจงอยฝาปิด ร่วงเมื่อดอกบาน ด้านล่างเป็นฐานดอกรูปถ้วย เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ผล: ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร สีเหลือง เมล็ด มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม ผิวนอกแข็ง เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ทำให้เมล็ดที่อยู่ภายในหล่นออกมา

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้นำมาเผาถ่านซึ่งให้ความร้อนใกล้เคียงกับไม้โกงกาง ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ (ไม้อายุ 3-6 ปี) หรือนำไปทำไม้อัด (ไม้อายุ 6-10 ปี)

แหล่งที่พบ

แนวทางเดินด้านหลังอาคารรักตะกนิษฐ โซน C

ราชพฤกษ์

ชัยพฤกษ์ (กลาง) คูน (กลาง, เหนือ) ลมแล้ง (เหนือ)

Cassia fistula L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 3-8 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ดอก: สีเหลืองสด ออกตามซอกใบเป็นช่อห้อยลง ยาว 20-40 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบรองดอก 5 กลีบ ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรผู้ 10 อัน สั้น 7 อัน ยาว 3 อัน ก้านเกสรเมียและรังไข่มีขนยาว ผล: เป็นฝักยาว รูปแท่งกลม กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ฝักแก่ไม่แตก แต่จะหลุดร่วงทั้งฝักและหักแตกเป็นชิ้น เมล็ดมีเนื้อเหนียวสีดำหุ้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เนื้อหุ้มเมล็ดใช้แก้ท้องผูก ขับเสมหะ ดอกแก้ไข้ เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน

แหล่งที่พบ

หน้าโฮมเบเกอรี่ โซน A

ลองกอง

ลองกอง (สุราษฎร์ธานี) ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช)

Lansium domesticum Correa

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MELIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 20 - 30 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นขรุขระ ใบ: ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นมัน ขนาดใหญ่ นูนเป็นคลื่นเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดดอก: ดอกช่อ ตาดอกมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว ซึ่งจะเจริญเป็นช่อดอกที่แตกออกมาจากลำต้น การออกดอกส่วนใหญ่จะเริ่มบริเวณ 2 ใน 3 ของช่อดอกจากปลายช่อ ผล: ผลของลองกองมีขนาดใหญ่กว่าลางสาด ผลค่อนข้างกลมและมีผลรีบ้างเล็กน้อย เมื่อสุกมีสีจางกว่าสีของผลลางสาด เมล็ดในแต่ละผลมีน้อยหรือไม่มีเลยขนาดค่อนข้างเล็ก มีรอยแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานใช้รับประทานได้ เปลือกของลำต้นมีรสฝาด ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ เมล็ดมีรสขมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารรักตะกนิษฐ โซน B