ไกร

กร่าง ไทรกร่าง (กรุงเทพฯ) ไฮฮี (เพชรบูรณ์)

Ficus concinna Miq.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ลำต้นสูงได้ถึง 30 เมตร มียางสีขาว รากอากาศเกิดใกล้โคนต้น ลำต้นและทุกส่วนสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีชมพู เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8.5 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือแหลมติ่งสั้นๆ โคนแหลมหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละประมาณ 12 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นกลางใบสีขาว เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร หูใบ 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน รูปไข่แกมรูปใบหอก ร่วงง่ายดอก: ช่อดอกออกเป็นคู่ตามง่ามใบและอยู่ด้านล่างของใบ มีใบประดับเล็กๆ 3 ใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม ร่วงง่าย ก้านช่อดอกยาว 1-5 มิลลิเมตร ช่อดอกรูปร่างคล้ายผล คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่เป็นเปาะ มีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ผล: ผลอยู่ภายในช่อดอกที่มีลักษณะคล้ายมะเดื่อ สีชมพู รูปกลม กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร มีจุดสีแดงประปราย ภายในมีผลเล็กๆรูปไข่จำนวนมาก ก้านผลยาว 1-5 มิลลิเมตร

การนำไปใช้ประโยนชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งที่พบ

ด้านหลังอาคาร 3 โซน A หน้าอาคาร 2 โซน B

ขนุน

มะหนุน (ใต้, เหนือ) หมักหมี๊ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

Artocarpus heterophyllus Lam.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ: เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอดและตามกิ่ง ช่อดอกรูปทรงกระบอกหรือขอบขนาน ยาว 10 – 15 ซม. ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ช่อดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกอ่อนมีใบประดับปลายแหลม ขนาดยาว 5 – 6 ซม. หุ้ม มีขน ช่อดอกเพศผู้จะอยู่สูงกว่าและมีจำนวนมากเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียเกิดทางซอกใบด้านล่าง ก้านช่อดอกขนาดใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้ เกสรเพศเมียรูปคล้ายกระบอง รังไข่รูปรี เชื่อมติดกัน ผล: เป็นผลรวมขนาดใหญ่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ขนุนเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมา ช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูงเพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เมล็ดช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่น หรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาดใช้ย้อมสบงจีวรพระ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน1 โซน A

ข่อย

กักไม้ฝอย (เหนือ) ส้มพอ (เลย, เหนือ)

Streblus asper Lour.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MORACEAE

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงไม่เกิน10 เมตร เปลือกขรุขระ สีเทาอมขาว ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร โคนสอบ ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก: สีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก แยกเพศ ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียมีจำนวน 2 ดอกต่อช่อ ก้านดอกยาว ผล: เป็นผลสด ทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบรองดอกสีเขียวหุ้มผล

การนำไปใช้ประโยนชน์

กิ่งทุบใช้แทนแปรงสีฟันได้ เปลือกต้นแก้โรคในช่องปาก ใบเป็นยาระบายอ่อนๆ

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียน1 โซน A ด้านข้างอาคารสมเด็จพระนางเจ้า (อาคาร11) โซน D