กระชายดำ

ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)

Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่ของกระชายดำจะแทงก้านขึ้นมาจากหัวใต้ดินสีเขียวสด ขนาดใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ลักษณะปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตามแนวเส้นใบ ส่วนโคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น และขอบก้านใบมีสีแดงอ่อน กลางก้านเป็นร่องลึก

ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาบริเวณซอกก้านใบ ช่อละหนึ่งดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ริมปากดอกสีขาว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จะเหมือนกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดเป็นรูปปากแตรไม่มีขน

เหง้าเป็นรูปทรงกลมเรียงต่อกันเป็นปุ่มปม ส่วนใหญ่มีขนาดเท่ากัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ถ้าพบรอยที่ผิวเหง้านั่นเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย

การนำไปใช้ประโยนชน์

เหง้า ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้บิด แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยรักษาอาการโรคกระเพาะจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า กระชายมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบเทียบได้กับยาหลายชนิด เช่น แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน

แหล่งที่พบ

กระทือ

เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน), กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ (ภาคเหนือ), ทือ กะทือ

Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ZINGIBERACEAE

เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง ติดอยู่ในใบประดับ มีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

หัวกะทือนำมาฝนใช้ทาแก้เคล็ดขัดยอก

เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟ พอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม เพื่อขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

แหล่งที่พบ

กานพลู

Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • MYRTACEAE

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่

การนำไปใช้ประโยนชน์

ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสารยูเจนอล ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

แหล่งที่พบ