สมอไทย

หมากแน่ะ, ม่าแน่ (ภาคอีสาน), สมออัพยา, ลูกสมอ

Terminalia chebula Retz.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMBRETACEAE

ผลรูปทรงกลม หรือรูปไข่ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. ผลสดสีเขียวอมเหลือง หรือบางครั้งมีสีแดงปน ผิวเรียบ มีสัน 5 สัน เมล็ดเดี่ยว แข็ง รูปรี ขนาดใหญ่ ผลแห้งสีดำเข้ม ผิวย่น ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่มีรสฝาดติดเปรี้ยว ขม ไม่มีกลิ่น เนื้อผลรสฝาดเปรี้ยว เมื่อชิมจะขมเล็กน้อยในตอนแรกและจะหวานในตอนหลัง เมล็ดมีรสขม

การนำไปใช้ประโยนชน์

1. ผลสมอไทยนำมาทานสดหรือจิ้มกับพริกน้ำปลา ให้รสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน

2. ผลสมอไทยนำมาทำสมอไทยดอง หรือ สมอไทยแช่อิ่มรับประทาน

3. เปลือกลำต้นใช้มีดถากนำมาย้อมผ้า ย้อมแห ให้สีดำอมแดงเรื่อ

4. ใบสมอไทย นำมาต้มย้อมผ้า ใบอ่อนให้สีเขียวขี้ม้า ใบแก่ที่เหลืองแล้วให้สีเหลืองอมน้ำตาล

5. ใบอ่อน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากแห้ง ก่อนนำมาชงเป็นชาดื่ม หรือ ใช้มวนเป็นยาสูบผสมกับใบพืชชนิดอื่น

6. ไม้สมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมเลื่อยแปรรูปเป็นเสาบ้าน แผ่นไม้ปูบ้าน ทำประตูวงกบ รวมถึงทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

7. กิ่งไม้ใช้ทำฟืน

แหล่งที่พบ

สมอพิเภก

ลัน (เชียงราย), สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ), สมอแหน (ภาคกลาง)

Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • COMBRETACEAE

ไม้ยืนต้นสูง 25-30 เมตร เปลือกผิวขรุขระ แตกตามยาว สีเทาดำ มักมีพูพอนแคบ ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ค่อนข้างแน่นตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-16 ซม. ยาว 2-10 ซม. ก้านใบยาว 3-9 ซม. มักมีต่อมขนาดเล็ก 1 คู่อยู่ตรงกลางด้านหน้าของก้านใบ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะเป็นแท่งแกน ยาวประมาณ 3-15 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้จะอยู่ด้านบน ลักษณะเป็นถ้วย สีนวล ภายในมีขนนุ่มแน่น มีกลิ่นหอมเอียน ผล เป็นผลสดค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม ขนาด กว้าง 2-3 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. มีสันพอสังเกตได้ เมล็ดค่อนข้างรี แข็ง ผิวขรุขระ ขนาดยาว 1.2 ซม. กว้าง 0.5 ซม.

การนำไปใช้ประโยนชน์

สมอพิเภก เป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์พื้นเมืองที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

เนื้อไม้ ใช้ทำพื้น ฝา หีบใส่ของ และการก่อสร้างต่าง ๆ เรือขุด คันไถ ทำเครื่องใช้ทางการเกษตร

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ราก : ใช้แก้พิษโลหิต ซึ่งมีอาการทำให้ร้อน

เปลือกต้น : ใช้แก้โรคเกี่ยวกับปัสสาวะพิการ

ใบ : รักาษแผลติดเชื้อ

ดอก : แก้ตาเปียกแฉะ

ผล : เป็นยาเจริญอาหาร บำรุง แก้ไข้ ท้องร่วง โรคเรื้อน ริดสีดวงทวาร ท้องมาร ถ้ารับประทานมาก ๆ เป็นยาเสพติด และทำให้หลับเมื่อเอาเมล็ดออกย่างไฟนาบสะดือเด็กหลังจากสายสะดือหลุด ผลค่อนข้างสุก เป็นยาระบาย เมื่อสุกเต็มที่เป็นยาสมาน ผลแห้ง แก้ไอ เสียงแห้ง เจ็บคอ ธาตุพิการ

ผลดิบ ใช้รับประทานเป็นยาระบาย เปลือกและผลให้สีขี้ม้าใช้ย้อมผ้า ผล ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol.

แหล่งที่พบ

ส้มแขก

ชะมวงช้าง, ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มพะงุน (ปัตตานี), ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้)

Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE

ต้นส้มแขก ลักษณะของต้นส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงประมาณ 5-14 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะของเปลือกต้นหากเป็นต้นอ่อนจะมีสีเขียว หากแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา

ใบส้มแขก เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร โดยใบแห้งจะมีสีน้ำตาล

ดอกส้มแขก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก

ผลส้มแขก ลักษณะของผลส้มแขกเป็นผลเดี่ยว ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มีประมาณ 8-10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ เนื้อแข็งมีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ด

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบแก่นำมาทำเป็นชาได้ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ใบอ่อนส้มแขกใช้รองนึ่งปลา

ประโยชน์ส้มแขก ผลสดใช้ทำแกงส้ม

ประโยชน์ของส้มแขก ผลใช้ปรุงรสอาหารด้วยการนำมาผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ เอาเยื่อและเมล็ดออก นำมาตากแห้งแล้วนำมาใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มปลา ต้มเนื้อ แกงส้ม หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน เป็นต้น หรือจะใช้ใบแทนผลก็ให้รสเปรี้ยวได้เช่นกัน

มีการใช้ใบแก่ของส้มแขกมาผสมกับยางพารา เพื่อใช้ทำปฏิกิริยาให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วขึ้น ด้วยการใช้ใบแก่ประมาณ 2 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 10 ลิตรแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์แล้วค่อยนำมาผสมกับยางพารา

ลำต้นส้มแขกแก่ ๆ (อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป) สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้

มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก ฯลฯ

แหล่งที่พบ