มะม่วงหิมพานต์

ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี) ตำหยาว (ใต้) มะม่วงไม่รู้หาว (กลาง) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา (เหนือ) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)

Anacardium occidentale L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANACARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบ: เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับ รูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่อหลวมๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น ผล: ผลเมื่อโตฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงและมีกลิ่นหอม ผลแบบ nut ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม

การนำไปใช้ประโยนชน์

ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมรับประทานเป็นอาหารทั่วไป ผลสุกรับประทานเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง บิด อาเจียน น้ำมันในเปลือกใช้เป็นยาทารอยแตกที่ส้นเท้าได้

แหล่งที่พบ

หน้าอาคารเรียนอนุบาลลอออุทิศ โซน C

มะยม

มะยม (กลาง)

Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • EUPHOBIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้นสูง 3-4 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งก้านมักคดงอ แตกกิ่งแผ่กระจาย ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับบนกิ่งเล็กๆดูคล้ายใบประกอบ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย ดอก: ออกเป็นช่อเล็กๆตามข้อของลำต้นและกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกกลมหรือรูปไข่ สีเขียวอ่อนหรือชมพูแก่ ผล: มีลักษณะขาวอมเหลือง กลมแป้น เป็นพู 6-8 พู ด้านบนบุ๋มลง ด้านล่างแบน ขนาด 1-2 เซนติเมตร เนื้อฉ่ำน้ำมีรสเปรี้ยว ผลห้อยเป็นพวง

การนำไปใช้ประโยนชน์

รากแก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใบผสมในยาเขียว แก้ไข้ หัด อีสุกอีใส ต้มน้ำอาบ สระผม แก้คัน ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

แหล่งที่พบ

ลานสวนดุสิตโพลและซุ่มเขียว โซน B

มะม่วง

มะม่วงบ้าน มะม่วงสวน (กลาง)

Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์พรรณไม้

  • ANCARDIACEAE

ต้น: ไม้ยืนต้น ลำต้นตรง สูงประมาณ 10 – 14 เมตร เปลือกของลำต้นแข็ง มีลักษณะขรุขระและมีเกล็ดมาก เปลือกอ่อนสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตัวสลับกัน ใบอ่อนมักมีสีออกแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบเป็นมัน ก้านใบยาว 1-10 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 8-40 เซนติเมตร กว้าง 2-10 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างแบบรูปโล่ รูปหอก รูปไข่ และเรียวยาว ฐานใบแคบและค่อยๆกว้างออกคล้ายรูปลิ่มแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบมักจะเป็นคลื่น ดอก: ดอกช่อ มีกลิ่นหอม ดอกมีหลายสีแตกต่างกัน เช่น สีแดง ชมพู หรือขาว กลีบเลี้ยงมักมี 5 กลีบแยกกัน สีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมักมี 5 กลีบ กลีบดอกยาวเป็น 2 เท่าของกลีบเลี้ยง มีสีเหลือง เมื่อแก่กลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ในดอกเพศผู้เกสรเพศเมียจะฝ่อไป ส่วนในดอกสมบูรณ์เพศจะมีรังไข่ 1 ช่อง รูปร่างเบี้ยวไม่มีก้าน ไข่มีจำนวน 1 ฟอง ผล: รูปร่างของผลมีตั้งแต่กลมไปจนถึงรูปไข่ค่อนข้างยาว ผลมักจะแบนด้านข้าง เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ส้ม แดง มี 1 เมล็ด เปลือกแข็ง

การนำไปใช้ประโยนชน์

ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ยอดอ่อน ผลอ่อนนำมาประกอบอาหารแทนผัก ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน

แหล่งที่พบ

ด้านหน้าอาคารเรียน1 โซน A ด้านหลังซุ่มเขียวลานสวนดุสิตโพล โซน B